ระบบ Thaihealth Knowledge Sharing (THKS) UAT สามารถทดลองใช้งานได้แล้ว..!
ความเป็นมา
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีภารกิจในการขยายผลองค์ความรู้ และขยายฐานผู้รับประโยชน์จากองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ของ สสส. เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เกิดจากการผสานความรู้ ประสบการณ์การขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และภาคีเครือข่ายร่วมกับการพัฒนารูปแบบ/ นวัตกรรมการสื่อสารและการพัฒนากลไกการขยายผลองค์ความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างก้าวกระโดด ด้วยการขยายผลต้นแบบงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกขน และภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการสื่อสารที่มีประสิทธิผลและยั่งยืน โดยคำนึงถึงพลวัตเชิงพื้นที่และกลุ่มประชากร ตลอดจนสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในกลุ่มประชากร เพื่อสร้างและรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้ การสื่อสาร การจัดการ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในยุคดิจิทัล
ในปี 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. จึงได้พัฒนาต้นแบบระบบบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Knowledge Management Platform : Thaihealth Knowledge Sharing) ขึ้น เพื่อเป็นระบบในการบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็นให้พร้อมใช้สำหรับการพัฒนาเป็นข้อมูล/ องค์ความรู้ที่พร้อมนำไปเผยแพร่ และ/ หรือ พัฒนาเป็นสื่อ/ กระบวนการเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาวะแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ต่อไป เพื่อให้ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Knowledge Management Platform : Thaihealth Knowledge Sharing) ดังกล่าว พร้อมสำหรับนักวิซาการนักจัดการความรู้ ตลอดจนภาคีเครือข่ายของ สสส. ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จึงพัฒนาโครงการ "จ้างบำรุงรักษาและพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม" ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมให้พร้อมใช้งาน
วัตถุประสงค์
1) บำรุงรักษาและพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
2) สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างและรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้ การสื่อสาร การจัดการ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในยุคดิจิทัล
เป้าหมาย
ระบบการจัดการความรู้งานวิจัยด้านสุขภาวะเพื่อการขยายผลด้วยปัญญาของฝูงชน (Collaborative Knowledge Management) ด้วยฐานความรู้ภายใต้แพลตฟอร์ม Decentralize Website ด้วยระบบConsortium Blockchain แบบเฉพาะกลุ่มเพื่อการขยายผลในอนาคต เสริมประสิทธิภาพให้ Co-Creation Platform ส่งผลให้เกิด Ecosystem ด้านดิจิทัลรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Next Normal ของ สสส.
กลุ่มเป้าหมาย
1. นักวิชาการ สสส. นักจัดการความรู้ และศูนย์วิชาการที่เป็นภาคีเครือข่ายของ สสส.
2 ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.
ระบบ Thaihealth Knowledge Sharing (THKS) UAT
สามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://knowledgesharing.thaihealth.or.th
https://knowledgesharing.thaihealth.or.th