มหาวิทยาลัยจะดูแลสุขภาพจิตนักศึกษาได้อย่างไรบ้าง : กรณีศึกษา Fulbright University Vietnam
สวัสดีค่ะภาคีเครือข่ายทุกท่าน
ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด 19 เราพบว่าสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตมีความรุนแรงมากขึ้น
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป
ขาดพื้นที่ทางสังคม จากที่เคยเรียนในคลาส ก็ต้องมาเรียนออนไลน์ รูปแบบการฝึกงาน หรือการฝึกทักษะต่างๆ
เพื่อที่จะต้องเตรียมตัวเข้าสู่วัยทำงานก็มีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น
วันนี้สถาบันรักลูก ขอใช้พื้นที่นี้มาแชร์รูปแบบการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตในมหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจจาก Fulbright University Veitnam ที่นำเสนอในงานสานพลังเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาพจิต สนับสนุนโดย สสส.
โดย ดร.สกุลทิพย์ ศิริกันตราภรณ์ ผู้ที่คร่ำหวอดในงานด้านสุขภาพจิตวัยรุ่นและเป็นผู้ที่ได้ร่วมจัดตั้ง Wellness Center ของ Fulbright University Veitnam
มนุษย์ในช่วงวัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มักตั้งคำถามว่า "ฉันคือใคร" คำถามนี้ไม่เพียงถามว่าเราคือใคร แต่เป็นนัยยะที่สื่อความหมายถึง การค้นหาอัตลักษณ์ ค้นหาตัวตน มักเกิดคำถามกับค่านิยมต่างๆ ในสังคม ซึ่งสะท้อน เหมือนกับที่ Jeffrey Arnett (1997) ได้พูดถึงรอยต่อของการพัฒนาจากวัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่ว่าจะเป็นช่วงแห่งการสำรวจอัตลักษณ์ มีความไม่แน่นอนในตัวเอง สามารถโฟกัสกับตัวเองได้เต็มที่ ยังมีความรู้สึกก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ และมีความเป็นไปในการทำอะไรต่าง ๆ
ดังนั้นในความเปลี่ยนผ่านแบบนี้ ชีวิตในวัยนี้จึงสำคัญอย่างมากที่ต้องให้ความสนใจ พูดคุยถึงสุขภาพจิตและมองให้เป็นเรื่องปกติ เหมือนกับการพูดคุยเรื่องสุขภาพทางกาย ต้องมีการสร้างพื้นที่ที่เป็น safe zone ให้กับนักศึกษาโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยที่เป็นสถานที่ที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่เกือบทั้งวัน และเมื่อไหรก็ตาม หากนักศึกษาต้องการพื้นที่เพื่อปรึกษา ต้องการคนช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต เวลานั้น มหาวิทยาลัยต้องอ้าแขนรับเเละเป็นที่ปลอดภัยให้กับนักศึกษาทุกคนได้
กลยุทธ์ในการสร้าง Wellness Center ของ Fulbright University Veitnam มี 4 เรื่องหลักที่จะทำให้เกิดการทำงานอย่างบูรณาการให้งานด้านสุขภาพจิตของมหาวิทยาลัยเป็นงานที่ต้องขับเคลื่อนไปกับงานพัฒนานักศึกษาในด้านอื่นๆ ได้แก่
1. การทำให้เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องพื้นฐาน
- 2.สร้างพื้นที่บริการที่ปลอดภัย
- 3.ประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กร
- 4. ทำงานและศึกษาวิจัยไปพร้อมๆ กัน
"คุณค่าของ wellness อยู่ที่ความสบายใจในการพูดคุยในเรื่องสุขภาวะ มีพื้นที่ปลอดภัยในทุกภาคส่วนไม่ใช่กระจุกอยู่แค่ในมหาวิทยาลัย
เพราะเมื่อเด็กเกิด าวะวิกฤติเด็กจะสามารถมีพื้นที่มากกว่าในมหาวิทยาลัยในการไปพูดคุยปรึกษาลดความแปลกแยกในส่วนการบริการในมหาวิทยาลัย ประเด็นสุดท้าย ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยด้วย" (ดร.สกุลทิพย์ ศิริกันตราภรณ์)