เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น/โหวต

ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยงลำไส้พัง แต่สามารถป้องกันได้

ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยงลำไส้พัง แต่สามารถป้องกันได้😊

ท้องผูก คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระยาก หรือห่างผิดปกติ ร่วมกับ อุจจาระที่มีลักษณะแข็งหรือแห้งผิดปกติด้วยเช่นกัน ส่วนท้องผูกเรื้อรัง หมายถึง ภาวะท้องผูกที่เป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 3 เดือน ภาวะท้องผูกเป็นภาวะที่พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ถึงร้อยละ 25 โดยพบได้ในกลุ่มช่วงอายุ 20 - 40 ปีบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 57 เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารที่มีกากใยสูง ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย และที่สำคัญคือผู้ที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์

💢 สาเหตุของภาวะท้องผูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.ท้องผูกปฐมภูมิ” คือ ท้องผูกที่เกิดจากการบีบและคลายตัวผิดปกติของลำไส้เอง ตัวอย่างเช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้เฉื่อย หรือ การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี
2. ภาวะท้องผูกที่มีสาเหตุจากความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลำไส้ หรือ โรคระบบอื่นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูก ตัวอย่าง เช่น มะเร็งลำไส้, โรคทางสมอง, โรคทางต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน ไทยรอยด์) หรือท้องผูกจากยา

การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องผูก
1.การดื่มน้ำให้มากพอ อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน ภาวะขาดน้ำจะทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ยิ่งทำให้การถ่ายอุจจาระยาก
2.การรับประทานอาหารเส้นใยสูง คือ ผัก ผลไม้ ทั้งนี้เส้นใยจากอาหาร ลดการรับประทานเนื้อสัตว์และแป้ง
3.ออกกำลังกายเป็นประจำ
4.การทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียด

ทั้งนี้ หากมีภาวะท้องผูกในกรณีต่อไปนี้ ได้แก่
1.มีถ่ายอุจจาระปนเลือด
2.ผอมลงรวดเร็ว
3.คลำได้ก้อนที่ท้อง
4.ปวดท้องรุนแรง
5.อ่อนเพลีย
6.ท้องอืดรุนแรง
7.ปัญหาเริ่มต้นหลังวัย 50 และ
8.อาการเป็นมากขึ้น
ควรเข้ารับคำปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

🏥สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หากมีอาการเจ็บป่วย สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำตามสิทธิ โดยยื่นบัตรประชาชน หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร+บัตรประชาชนของผู้ปกครอง หรือกรณีมีความจำเป็นสามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ทุกแห่ง เช่นโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านไปรักษาเป็นประจำ

//ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1.สายด่วน สปสช. 1330
2.ช่องทางออนไลน์
• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

#อาการท้องผูก #ท้องผูก #30บาทอัปเกรด #30bahtupgrade #สปสช #30บาทรักษาทุกโรค #สิทธิบัตรทอง #สิทธิ30บาท #บัตร30บาท #NHSO #สายด่วน1330

346
ธิดา เวชมณี - สำนักงานหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ (สปสช.)
3 เม.ย. 67 - 14:22