5 แนวทางการมีกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัยในสถานการณ์ฝุ่น
ฝุ่น PM2.5 เยอะ มีกิจกรรมทางกายยังไงให้ปลอดภัย ?
ช่วงนี้ฝุ่น PM2.5 กลับมาพุ่งสูงอีกแล้ว เพื่อสุขภาพที่ดี เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายให้เหมาะสมกับ 5 แนวทางมีกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัยในสถานการณ์ฝุ่น PM2.5
1. ตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนการมีกิจกรรมทางกาย
- ตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน air4thai หรือ ของกรมควบคุมมลพิษ
2. การจำกัดการมีกิจกรรมทางกายกลางแจ้งในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูง
- ควรงดกิจกรรมทางกายกลางแจ้งที่ต้องออกแรงมาก เช่น การวิ่งหรือปั่นจักรยาน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สามารถเพิ่มการสัมผัสอากาศเสียได้ และให้พิจารณาตัวเลือกการมีกิจกรรมทางกายในร่มแทน เช่น ไปยิมหรือออกกำลังกายที่บ้านเพราะในอาคารมีระบบเครื่องปรับอากาศที่ช่วยกรองฝุ่นพิษเหล่านี้ได้
ซึ่งสามารถตรวจสอบดูข้อควรปฏิบัติตามเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย จากกรมควบคุมมลพิษ ดังนี้
- 0 - 50 (เขียว) : ปลอดภัย
- 51-100 (เหลือง) : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
- 101-200 (ส้ม) : ควรเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
- 201 ขึ้นไป (แดง) : งดกิจกรรมกลางแจ้ง
3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการมีกิจกรรมทางกาย
- ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมทางกาย เช่น เลือกกิจกรรมทางกายที่เบาและการหายใจน้อย ๆ เช่น เดินแทนการวิ่ง ยืดเหยียดแทนการเคลื่อนไหวร่างกายที่ต้องออกแรงมาก เลือกทำงานบ้านแทนการทำงานสวน เป็นต้น
4. สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ
- เช่น ไอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ หรือรู้สึกไม่สบายหน้าอกในระหว่างหรือหลังกิจกรรมทางกายในสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 หากพบอาการเหล่านี้ ให้หยุดการมีกิจกรรมทางกาย และย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศบริสุทธิ์ รวมทั้งควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง
5. งดใส่หน้ากากอนามัยขณะที่ทำกิจกรรมทางกายในระดับที่หนัก
- เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การทำงานที่ใช้แรงอย่างหนัก ฯลฯ จะไปขัดขวางการหายใจ ร่างกายจะรับอากาศได้น้อยลง อีกทั้งในขณะที่เราออกแรงนั้น จะมีการหายใจแรงและถี่มากกว่าปกติ ร่างกายจะหายใจเอาปริมาณอากาศเข้าไปมากและหนักกว่าปกติ ทำให้เราสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไปเยอะกว่าปกติ
*อย่าลืมดูแลตัวเองหลังมีกิจกรรมทางกาย*
- ล้างมือ ล้างหน้า เปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำให้สะอาด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ จาม หายใจลำบาก หากมีอาการควรไปพบแพทย์