เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น/โหวต
สิทธิบัตรทอง 'ฟอกไต' ได้กี่วิธี มีข้อดี-ข้อเสีย'อย่างไรบ้าง !!?
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2565
สนับสนุนนโยบาย "เลือกฟอกโตแบบที่ใช่ ได้ทุกคน" ที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองตัดสินใจร่วมกับแพทย์เพื่อเลือกวิธีการฟอกไตที่เหมาะสมได้
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 พร้อมกับให้ข้อมูล ข้อดี-ข้อเสีย ของการฟอกไตแต่ละวิธีมีดังนี้
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis หรือ HD)
เป็นการฟอกไตที่ต้องนำเลือดออกจากเส้นเลือดผ่านตัวกรอง (dialyzer) และเครื่องฟอกเลือด และผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดทำเส้นเลือดสำหรับนำเลือดออกจากร่างกาย
ข้อดี
- ไม่ต้องทำเอง อาศัยพยาบาลไตเทียมที่ต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางให้การรักษา
- ใช้เวลาฟอกเฉลี่ย 4 ชั่วโมง ต่อครั้ง / 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
ข้อเสีย
- ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกไตเทียมบ่อย
- มีค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ค่าเดินทาง
- โรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจบางชนิด
อาจจะเพิ่มความเสี่ยงภาจะแทรกซ้อนระหว่างการฟอกเลือด
------------------
การล้างไตทางช่องท้อง(peritoneal dialysis หรือ PD)
เป็นการฟอกไตที่อาศัยผนังในช่องท้องเป็นตัวกรองในการเอาของเสียออกจากร่างกาย ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดวางสายล้างไตที่ผนังหน้าท้องก่อนทำเองได้ที่บ้าน มี 2 แบบ คือทำเอง (CAPD) หรือใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD)
ข้อดี
- ทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อย
- โอกาสติดเชื้อน้อยมากหากทำถูกต้องตามขั้นตอน
-ไม่เสี่ยงต่อความดันตกขณะฟอก
ข้อเสีย
-ต้องพกเอาน้ำยาติดตัวหากเดินทางไปต่างจังหวัดหรือพักค้างคืนที่อื่น
-อาจติดเชื้อหากทำผิดหรือข้ามขั้นตอน หรือมีการปนเปื้อน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1.สายด่วน สปสช. 1330
2.ช่องทางออนไลน์
• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
สนับสนุนนโยบาย "เลือกฟอกโตแบบที่ใช่ ได้ทุกคน" ที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองตัดสินใจร่วมกับแพทย์เพื่อเลือกวิธีการฟอกไตที่เหมาะสมได้
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 พร้อมกับให้ข้อมูล ข้อดี-ข้อเสีย ของการฟอกไตแต่ละวิธีมีดังนี้
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis หรือ HD)
เป็นการฟอกไตที่ต้องนำเลือดออกจากเส้นเลือดผ่านตัวกรอง (dialyzer) และเครื่องฟอกเลือด และผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดทำเส้นเลือดสำหรับนำเลือดออกจากร่างกาย
ข้อดี
- ไม่ต้องทำเอง อาศัยพยาบาลไตเทียมที่ต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางให้การรักษา
- ใช้เวลาฟอกเฉลี่ย 4 ชั่วโมง ต่อครั้ง / 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
ข้อเสีย
- ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกไตเทียมบ่อย
- มีค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ค่าเดินทาง
- โรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจบางชนิด
อาจจะเพิ่มความเสี่ยงภาจะแทรกซ้อนระหว่างการฟอกเลือด
------------------
การล้างไตทางช่องท้อง(peritoneal dialysis หรือ PD)
เป็นการฟอกไตที่อาศัยผนังในช่องท้องเป็นตัวกรองในการเอาของเสียออกจากร่างกาย ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดวางสายล้างไตที่ผนังหน้าท้องก่อนทำเองได้ที่บ้าน มี 2 แบบ คือทำเอง (CAPD) หรือใช้เครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD)
ข้อดี
- ทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อย
- โอกาสติดเชื้อน้อยมากหากทำถูกต้องตามขั้นตอน
-ไม่เสี่ยงต่อความดันตกขณะฟอก
ข้อเสีย
-ต้องพกเอาน้ำยาติดตัวหากเดินทางไปต่างจังหวัดหรือพักค้างคืนที่อื่น
-อาจติดเชื้อหากทำผิดหรือข้ามขั้นตอน หรือมีการปนเปื้อน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1.สายด่วน สปสช. 1330
2.ช่องทางออนไลน์
• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
508
ศิรประภาว์ ผลิสินเอี่ยม
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ (สปสช.)
6 ก.พ. 67 - 15:52