แนะเช็กพฤติกรรมลูกหลาน ‘ถูกบูลลี่’ ป้องกันปมในใจที่อาจเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต
นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การบูลลี่เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความตั้งใจทำให้ผู้อื่นรู้สึกอับอายเป็นทุกข์ โดยผู้กระทำรู้สึกสนุก สะใจ การบูลลี่มีทั้งการกระทำผ่านทางกาย ทางคำพูด ทางสังคมและทางไซเบอร์ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบกับทุกช่วงวัย โดยเฉพาะวัยเด็กต้องระมัดระวังอย่างมาก อาจจะสร้างบาดแผลในใจจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ บางครั้งอาจส่งผลกระทบให้เด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ไม่อยากไปโรงเรียนรู้สึกไม่มีความสุข พ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตบุตรหลาน พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นประจำ เพื่อบุตรหลานจะได้รู้สึกปลอดภัย
ด้าน นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า วิธีสังเกตเมื่อลูกถูกบูลลี่ พ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถสังเกตจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากการพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรื่องราว การใช้เวลาร่วมกันเมื่อเด็กถูกบูลลี่มักจะไม่กล้าเล่า กังวล โดนข่มขู่ การใช้คำถามปลายเปิด ไม่ชี้นำ สามารถช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย มั่นใจในการเล่า โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองคอยรับฟัง สอบถามความรู้สึก และชื่นชมบุตรหลานมีความกล้าในการเล่าเรื่องยากๆให้ฟัง
5 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เห็นด้วยค่ะ แต่ทั้งนี้พ่อแม่ต้องใกล้ชิดกับลูกพอสมควร เด็กบางคนพอถึงวัยๆ หนึ่งประมาณช่วง 11-13 ปี ส่วนใหญ่ที่พบจะกลายเป็นเลือกที่จะไม่ปรึกษาพ่อแม่ แต่เลือกที่จะพูดคุยกับเพื่อนแทน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นคอยสังเกต สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ลูกเสมอ ไม่ซ้ำเติม เพราะบางครั้งคำพูดที่พูดออกไป ตัวเด็กเองอาจรู้สึกว่าไม่โอเค รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ จึงเลือกที่จะปรึกษาเพื่อนมากกว่า
ความคิดเห็นที่ 5
+1
+1
+1