เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น/โหวต

ส่งเสริมออกกำลังกาย ผ่านการเต้น -ฟ้อนรำ -ประกอบดนตรี-เพลง

ศรรภ.ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด ตระหนักในความสำคัญของการมีสุขภาพดี นอกจากให้บริการแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ และ แหล่งเรียนรู้ทางวิทยาการ วิทยาศาตร์แก่บุคคลทั่วไปแล้ว คณะผู้บริหารฯ ยังสนับสนุนให้บุคลากรมีสุขภาพดี ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย ทุกวัน  ผ่านการเต้น ฟ้อนรำ ประกอบการออกกำลังกาย ทั้งผ่านบทเพลง ดนตรี การส่งเสริมออกกำลังการด้วยวิธีนี้ สอดคล้องกับข้อมูลวิชาการ อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจาก สสส.

 

มีข้อมูลเกี่ยวกับการเอกเซอร์ไซส์ด้วยท่าฟ้อนรำ ที่ช่วยลดโรค “NCD” หรือโรคไม่ติดต่อรื้อรังในคนสูงวัย อ.ณรงค์ อธิบายว่า “สำหรับการเลือกออกกำลังกาย ด้วยการ “ฟ้อนรำ” เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวอวัยวะร่างกายตามจังหวะเสียงเพลง แน่นอนจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อต่อต่างๆ ตลอดจนกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายได้ทำงานเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นท่าทางฟ้อนรำแบบไหน เช่น การฟ้อนรำที่ประยุกต์เรื่องนาฏศิลป์เข้าไป ซึ่งเรียกได้ว่าทุกๆ รูปแบบของการออกกำลังกายด้วยท่าร่ายรำ ล้วนมีประโยชน์ต่อผู้สูงวัยแทบจะทั้งสิ้น เพราะแน่นอนว่าคนวัยเก๋าจะได้ใช้ทั้งหัว ตา ไหล่ แขน มือ นิ้ว ลำตัวที่ต้องโยกย้ายไปตามเสียงเพลง รวมถึงการเคลื่อนไหวหัวเข่า ขณะที่ต้องสลับขาเปลี่ยนท่า เรียกว่าได้ออกกำลังแทบทุกส่วน ที่สำคัญยังมีการศึกษาวิจัย “การรำไทย” จะมีผลต่อสมอง คือ ทำให้สมองได้ใช้งาน ในการจดจำท่าการเดิน และการย่างก้าวขณะฟ้อนรำ เป็นต้นว่าท่านี้จะเดินหน้ากี่ก้าว และต้องถอยหลังกี่ก้าว เมื่อสมองได้ใช้งานก็จะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมได้ เรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังที่พัฒนาทั้งร่างกายและสมองไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังทำให้รูปร่างและทรวดทรงของคนสูงอายุกระชับ มีการทรงตัวที่ดีเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บ อีกทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายก็ยังสามารถช่วยเผาพลาญไขมันที่เรากินเข้าไป จะช่วยลด “โรค NCD” หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง ฯลฯ ในคนสูงวัยได้ นอกจากนี้ยังช่วยคลายเครียด ในกลุ่มของผู้สูงวัยที่ใช้สมอง อยู่กับการครุ่นคิด หรือติดโซเชียล ถ้าท่านได้ออกมาฟ้อนรำ ก็จะทำให้ทิ้งอุปกรณ์สมาร์ทโฟนไปชั่วคราว และอย่าลืมว่ากิจกรรมออกกำลังตามจังหวะเสียงเพลงดังกล่าว ผู้สูงอายุจะได้พบเจอกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นได้ ก็จะทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ดี (ออกกำลังกายด้วย “การฟ้อนรำ” ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ข้อต่อ และช่วยลดโรคไม่ติดต่อรื้อรังในคนสูงวัยได้) 

 

ส่วนระยะเวลาของการฟ้อนรำเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม อันดับแรกก็ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของผู้สูงวัยแต่ละท่าน หรือถ้าเป็นไปได้ก็แนะนำให้ออกกำลังสัปดาห์ละ 150 นาที (คิดเป็นวันละ 30 นาที) หรือจะออกกำลังกายแบบสะสมก็ได้เช่นกัน เช่น ออกกำลังครั้งละ 10 นาที จากนั้นก็เปลี่ยนอิริยาบถไปทำงานบ้านอย่างอื่นและมาออกต่อก็ได้ และจะเอกเซอร์ไซส์แบบรวดเดียว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงก็ได้เช่นกัน หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ว่าควรออกกำลัง เพื่อให้ชีพจรในร่างกาย ทำงานมากกว่าปกติ หรือชีพจรเต้นให้ได้ 80-90 ครั้งต่อนาที จากที่เคยเต้นอยู่ที่ 50-60 ครั้งต่อนาที เพราะจะทำให้หัวใจทำงานได้มากขึ้น ก็จะทำให้เลือดลมสูบฉีดและไหลเวียนได้ดี ก็จะไปเลี้ยงส่วนต่าง รวมถึงสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนั้นร่างกายก็จะแข็งแรง.

152

3 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ความคิดเห็นที่ 2

ความคิดเห็นที่ 3