เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น/โหวต

แกนนำวัยเก๋าฉะเชิงเทรา ต้านโรค NCDs ภายใต้โครงการขยายผลความรู้สุขภาวะ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาคฉะเชิงเทรา ดำเนินกิจกรรม อสม.เคาะประตูบ้าน

 

แกนนำวัยเก๋าฉะเชิงเทรา ต้านโรค NCDs

ภายใต้โครงการขยายผลความรู้สุขภาวะ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาคฉะเชิงเทรา ดำเนินกิจกรรม

“อสม. เคาะประตูบ้าน”

โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การให้ความรู้เรื่องโภชนาการและโรค NCDs รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ลงพื้นที่ 32 ชุมชน ได้แก่

ชุมชนโสธร จำนวน 298 ครัวเรือน 365 คน

ชุมชนประตูน้ำ จำนวน 362 ครัวเรือน 837 คน

ชุมชนวรรณยิ่ง 1 จำนวน 505 ครัวเรือน 1,223 คน

ชุมชนตลาดบ่อบัว จำนวน 596 ครัวเรือน 772 คน

ชุมชนสถานีรถไฟ จำนวน 568 ครัวเรือน 923 คน

ชุมชนซอยลิเก จำนวน 641 ครัวเรือน 1,590 คน

ชุมชนวรรณยิ่ง 2 จำนวน 310 ครัวเรือน 750 คน

ชุมชนตลาดบ้านใหม่ จำนวน 1,028 ครัวเรือน 1,610 คน

ชุมชนโสธร 3 จำนวน 299 ครัวเรือน 591 คน

ชุมชนหน้าเมือง จำนวน 658 ครัวเรือน 939 คน

ชุมชนท่าข้าม จำนวน 872 ครัวเรือน 1,228 คน

ชุมชนตลาดบน จำนวน 924 ครัวเรือน 1,821 คน

ชุมชนโสธร 2 จำนวน 613 ครัวเรือน 793 คน

ชุมชนบริสุทธิ์-สันติสุข จำนวน 746 ครัวเรือน 1,286 คน

ชุมชนสะพานดำ จำนวน 185 ครัวเรือน 592 คน

ชุมชนค่ายศรีโสธร จำนวน 947 ครัวเรือน 804 คน

ชุมชนเทพคุณากร จำนวน 1,347 ครัวเรือน 1,568 คน

ชุมชนหมู่บ้านศรีโสธร จำนวน 471 ครัวเรือน 912 คน

ชุมชนท่าข้าม 2 จำนวน 1,069 ครัวเรือน 912 คน

ชุมชนตรอกข้าวหลาม จำนวน 404 ครัวเรือน 743 คน

ชุมชนประชาสรรค์ จำนวน 796 ครัวเรือน 738 คน

ชุมชนริมคลองวนา จำนวน 712 ครัวเรือน 1,347 คน

ชุมชนมนนที จำนวน 505 ครัวเรือน 1,010 คน

ชุมชนเทพโสธร จำนวน 711 ครัวเรือน 1,105 คน

ชุมชนพระยาศรีสุนทร จำนวน 254 ครัวเรือน 671 คน

ชุมชนริมคลองท่าไข่ จำนวน 212 ครัวเรือน 413 คน

ชุมชนปัญจง จำนวน 428 ครัวเรือน 717 คน

ชุมชนสุวินทวงศ์ จำนวน 222 ครัวเรือน 451 คน

ชุมชนมหาจักรพรรดิ์ จำนวน 404 ครัวเรือน 633 คน

ชุมชนริมทางรถไฟ จำนวน 152 ครัวเรือน 358 คน

ชุมชนเทพนิมิตร จำนวน 123 ครัวเรือน 381 คน

ชุมชนคลองโสธร จำนวน 569 ครัวเรือน 988 คน

เนื้อหาที่ให้ความรู้

  1. โภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดี

อสม. ได้แนะนำให้ประชาชนลดการบริโภคอาหารที่มีรสจัด เช่น อาหารหวาน มัน และเค็ม พร้อมทั้งเสนอทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักสด ผลไม้ และการปรุงอาหารที่ลดการใช้เครื่องปรุงรสที่เกินพอดี

  1. ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค NCDs

อสม. ได้ใช้แผ่นพับให้ความรู้จาก สสส. อธิบายถึงลักษณะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น อาการ สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูง และแนะนำวิธีป้องกัน เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี การควบคุมน้ำหนัก และการลดการสูบบุหรี่

  1. การออกกำลังกาย

อสม. ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การออกกำลังกายเบาๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน

 

ประชาชนในชุมชนแสดงความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องโภชนาการและการป้องกันโรค NCDs หลายครอบครัวเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น การลดการใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร และเพิ่มการบริโภคผักในแต่ละมื้อ ซึ่งการลงพื้นที่ขยายผลของเหล่าแกนนำวัยเก๋าฉะเชิงเทรา ต้านโรค NCDs ในครั้งนี้เป็นการให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืน

#ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสสส.

#kccฉะเชิงเทรา

#อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

#วัยเก๋าฉะเชิงเทาต้านโรคNCDs

#สุขภาพดี #ชุมชนยั่งยืน

44
12 ม.ค. 68 - 13:25